วันที่ 21 กรกฎาคม 2568 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วยนางสาวกิตติวรรณ ประสิทธิผล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการปรึกษาหารือรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2570
ผอ.สศท.2 พิษณุโลก ได้เสนอข้อคิดเห็นให้ฝ่ายเลขาฯด้านการเกษตร พิจารณาหารือเพิ่มข้อเสนออีก 2 กิจกรรมย่อย ในกิจกรรมหลักพัฒนาคุณภาพการผลิตทุเรียนของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง1 ภายใต้โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงครบวงจรของกลุ่มจังหวัดตอนล่าง 1 โดยกิจกรรมย่อยที่ได้เสนอเพิ่ม มีดังนี้
- ส่งเสริมศักยภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพทุเรียนของเกษตรกรเป็นเกรดพรีเมี่ยม(A AB, เกรดส่งออก) เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้จากการผลิตให้เกษตรกรอยู่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ
- ยกระดับการตรวจสอบมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร และGMP ของล้งรับซื้อผลผลิตในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้าง Demand (ปริมาณความต้องการซื้อ) เสริมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพทุเรียนภาคเหนือ โดยเฉพาะทุเรียนGI ทุเรียนอัตลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ ทุเรียนหลง หลิน หมอนพระร่วงสุโขทัย หมอนศิลาทุ่งเสลี่ยม หมอนทองบ้านแยงนครไทย หลงรักไทย หมอนทองสายน้ำแร่พบพระตาก ที่ผู้บริโภคซื้อแล้วกลับมาซื้ออีก และบอกต่อเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าทั้งระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด
นอกจากนี้ ยังขอให้ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยชี้แจงเทคนิคการเขียนขัอเสนอกิจกรรมแผนงานโครงการ ที่จะไม่ซ้ำซ้อนกับงบFunction ของหน่วยงาน กษ. เพื่อให้หน่วยงานสามารถเข้าถึงงบกลุ่มจังหวัดฯมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรให้บรรลุตามเป้าหมาย
ข้อเสนอแนะของทีมอาจารย์ที่ปรึกษาต่อข้อเสนอโครงการฯ ด้านเกษตร (แผนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง1) อาทิ
- ควรเขียนเพิ่มลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงหลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (Reference) เช่น ผลการศึกษา วิจัย ผลการสำรวจ ข้อเท็จจริงว่า ในแผนปฏิบัติราชการของ กษ. ภายใต้นโยบาย กษ. มีการทำงานเกี่ยวกับการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงใดแล้วบ้าง แต่ยังไม่สะท้อนบริบท ความต้องการ หรือสภาพปัญหาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างในเรื่องใดบ้าง อาทิ เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทุเรียนออกสู่ตลาดเพิ่มทั่วประเทศและในพื้นที่ เกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาทุเรียนผลสดที่เกษตรกรภาคเหนือขายได้ตกต่ำ ผลผลิตของเกษตรกรถูกตัดเกรดขายในเกรด C /ตกเกรดมาก ในขณะที่สัดส่วนเกรดพรีเมี่ยม A,AB น้อยมาก เกษตรกรจึงมีรายได้ต่ำ อีกทั้งเกษตรกรภาคเหนือยังขาดความชำนาญด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิตทุเรียนเมื่อเทียบกับแหล่งผลิตที่สำคัญประเทศ(ภาคตะวันออกและภาคใต้) โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันกำจัดโรค/แมลงศัตรูพืช การพัฒนาทุเรียนเป็นเกรดคุณภาพ เพื่อพร้อมส่งออก การพัฒนาสินค้าเกษตรGI/อัตลักษณ์พื้นที่ ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขอรับงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดฯ เพื่อพัฒนา/แก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะ
- ควรกำหนดผลได้ เป้าหมาย ตัวชี้วัดจากการดำเนินโครงการที่ของบกลุ่มจังหวัดฯ ให้สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายเป้าหมายตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ แผน สศช.ฉบับที่ 13 ด้วย เช่น ด้านเกษตรควรปรับ GPCP จากที่กำหนดไว้เดิม 2% เป็น 4.5 % ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด GDP เกษตร
- ควรเขียนเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยสร้างความยั่งยืนในการผลิตเกษตรด้วย โดยขอให้มีการวิเคราะห์ Value Chain ในข้อเสนอโครงการฯ
โดยมีนายนิสิต สวัสดิเทพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุม
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก






